top of page

“เชฟ” กับ "กุ๊ก" แตกต่างกันอย่างไร



ในปัจจุบันอาชีพเชฟ(Chef) ก็เป็นอาชีพที่ใคร ๆก็อยากเป็น เพราะมีรายได้สูง และเป็นอาชีพที่ดูง่าย เพราะแค่ทำอาหาร จึงทำให้ใครหลายๆคน ใฝ่ฝันอยากจะเป็น แต่ความจริงแล้ว อาชีพเชฟนั้นแตกต่างจาก กุ๊ก(Cook) และหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบนั้นก็แตกต่างกันด้วย




ปกติแล้วนอกจากคำว่า เชฟ แล้วยังมีอีกคำที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ คือ กุ๊ก ซึ่งหลาย ๆ คนน่าจะยังไม่เข้าใจในสองคำนี้ว่าแตกต่างกันอย่างไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง ส่วนมาก เชฟจะมีหน้าที่ บริหารครัว ซึ่งการปรุงอาหารนั้นจะเป็นหน้าที่หลักของกุ๊ก โดยทั่วไปแล้ว กุ๊ก จะมีหน้าที่ทำอาหาร ปรุงอาหาร ในร้านอาหาร หรือโรงแรม แต่ เชฟ จะมีหน้าที่ในการ วางแผนจัดการเกี่ยวกับการเตรียมและปรุงอาหาร และคอยควบคุมดูแลกุ๊กอีกทีเช่นกัน

คำว่าเชฟนั้นเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศสที่ย่อมาจากคำว่า Chef de cuisine ซึ่งแปลว่า หัวหน้าพ่อครัว ที่มีหน้าที่หลัก คือ คิดสูตรอาหาร และคอยควบคุมดูแลการปรุงอาหารของกุ๊กอีกทีหนึ่ง ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน หน้าที่หลักๆชองเชฟ เช่น การคิดค้นเมนูใหม่ๆ แนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหาร ควบคุมคุณภาพของอาหาร ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบไปจนถึงการตกแต่งจาน ปรึกษาเกี่ยวกับการเตรียมอาหารกับนักโภชนาการ ผู้จัดการ และทุก ๆ คนในครัว ตรวจสอบสุขนามัยและดูแลความสะอาดในห้องครัวนั่นเอง รวมถึงการการคัดเลือกพนักงานในครัว ด้วยหน้าที่ที่มากมาย จึงทำให้อาชีพเชฟนั้นมีค่าตอบแทนที่สูงมาก



ในสายงานของเชฟตามภัตตาคาร หรือโรงแรมใหญ่ ๆ นั้นไม่ได้มีแค่ตำแหน่งของเชฟไม่ได้มีเพียงตำแหน่งเดียวแต่จะถูกแบ่งออกเป็นตำแหน่งต่าง ๆ ตามหน้าที่และความรับผิดชอบอีกที แบ่งได้เป็นดังต่อไปนี้

1. Commis Chef เป็นตำแหน่งแรกเริ่มสำหรับอาชีพเชฟ มีหน้าที่คอยช่วยเหลืองานต่าง ๆ เช่น การเตรียมวัตถุดิบ เตรียมอุปกรณ์ หยิบจับอุปกรณ์ ตำแหน่งนี้จึงยังไม่ต้องการความชำนาญเป็นพิเศษ

2. Demi Chef คือ รองหัวหน้าเชฟ โดยในแต่ละแผนนกนั้นอาจมีรองหัวหนน้าเชฟได้หลายคน

3. Chef de Partie หรือ Section Chef ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างเฉพาะทาง เพราะส่วนมากจะเป็นตำแหน่งที่มักมีในห้องอาหารหรือตามภัตตาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการคนดูแลรับผิดชอบแผนกย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นแผนกเตรียมผัก แผนกอบขนม และย่างเป็นต้น

4. Second Chef หรือ Sous Chef เป็นตำแหน่งรองลงมาจากหัวหน้าเชฟ มีหน้าที่หลัก คือ คอยเป็นผู้ช่วยเชฟใหญ่ในการทำงาน อาจจะรับผิดชอบเป็นแผนก ๆ ไป

5. Head Chef หรือ Executive Chef นั่นก็คือ หัวหน้าเชฟ ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ ควบคุมดูแลความเรียบร้อยของการทำอาหาร ไปจนถึงการออกอาหาร รวมถึงการทำงานของทุกคนในครัว


การที่จะเป็นเชฟนั้น ต้องมีความรับผิดชอบสูง ต้องรู้เรื่องการบริหารจัดการ และทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้อย่างดี นอกจากรักการทำอาหารแล้ว ยังจำเป็นต้องมีความอดทน รับมือกับแรงกดดันให้ได้ บริหารจัดการเวลาได้ดี นอกจานี้ยังต้องมีความรับผิดชอบที่สูงมาก เพราะต้องคอยบริหารจัดการทุกอย่างในครัวนั่นเอง





 






หากใครสนใจหลักสูตรของ THCL Academy

สามารถดูรายละเอียดและค่าใช้จ่ายการเรียนได้ที่ 👉 www.thclacademy.com

โทรสอบถาม 061 247 6464

Line @THCLacademy

หรือ Inbox มาที่เพจ THCL Academy

ดู 12,943 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page